top of page
การอ่านสื่อสิ่งอิเล็กทรอนิกส์
ipad4.jpg
as25.jpg
GTY_twitter_kab_141119_12x5_1600-1152x66

ภาสกร เกิดอ่อน และคณะ. (ม.ป.ป.). การอ่านสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์. ใน เอกรินทร์ สี่มหาศาล (บรรณาธิการ), หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย หลักภาษาและการใช้ภาษา ม.๔ (๑๙-๓๘). กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

                การติดต่อสื่อสารของคนในสังคมปัจจุบัน สามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็วด้วยการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร ส่งผลให้สามารถสื่อสารกันได้ด้วยวิธีการที่หลากหลายรูปแบบ จากความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบันทำให้สามารถติดต่อกันได้ในลักษณะของเครือข่ายการสื่อสารข้อมูล (network) การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารจึงเป็นไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว นอกจากนั้นเครือข่ายการสื่อสารแบบไร้สายทำให้การรับข้อมูลข่าวสารเป็นไปได้โดยทั่วถึงมากยิ่งขึ้น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทุกคนรู้จัก คือ อินเทอร์เน็ต (Internet) ซึ่งเชื่อมโยงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน จัดการอินเตอร์เน็ตสามารถใช้ได้โดยผู้ใช้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก จึงเป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารได้เป็นอย่างดี บริการต่าง ๆ ได้ถูกสร้างขึ้นโดยอาศัยอินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการนำส่งข้อมูล เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ กระดานข่าว และบริการสนทนาโต้ตอบทันที เป็นต้น    

๑) ความหมายของอิเล็กทรอนิกส์

                   พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายของคำว่า สื่อ หมายถึง สิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน สื่อหรือมีเดีย (media) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน แปลว่า ระหว่าง ซึ่งหมายถึง สิ่งที่บรรจุข่าวสารเพื่อก่อให้เกิดการสื่อสารตามวัตถุประสงค์ จึงกล่าวได้ว่า สื่อ คือ ตัวกลางในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารนั้นเอง สื่อมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่รูปแบบดั้งเดิม ได้แก่ หนังสือ แผนที่ และรูปภาพไปจนถึงสื่อที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือที่เรียกว่า สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งข้อมูลข่าวสารที่นำมาเสนอจะอยู่ในรูปของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และใช้อุปกรณ์ในการอ่าน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์แบบพกพา โทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น

๒) ประเภทของสื่ออิเล็กทรอนิกส์

                   สื่ออิเล็กทรอนิกส์สามารถจำแนกตามวิธีการเข้าถึงได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทออฟไลน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทออนไลน์

                            ๒.๑) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทออฟไลน์ คือ ข้อมูลที่ถูกเก็บอยู่ในอุปกรณ์บันทึกข้อมูล เช่น ซีดีรอม (CD-ROM) ฮาร์ดดิสก์ แผ่นดิสก์ หรือดีวีดี (DVD) เป็นต้น สื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้ผู้อ่านสามารถเข้าถึงได้โดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นต่าง ๆ ของผู้อ่าน เช่น ภาพยนตร์ ดนตรี สารานุกรมหรือวารสารวิชาการในรูปของซีดีรอมหรือสื่อที่นำเสนอบทเรียนจากเอกสาร ตำรา ให้อยู่ในรูปของสื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์ เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ภาษาไทยมัธยมศึกษาปีที่ ๔ บทเรียนคอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน เป็นต้น

                            ๒.๒) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทออนไลน์ คือ สิ่งที่ถูกเก็บอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ผู้อ่านจะเข้าถึงสื่อได้โดยผ่านบริการต่าง ๆ ของเครือข่ายการสื่อสารข้อมูล เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร เอกสาร พจนานุกรม เป็นต้น ที่ให้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือข้อความประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานที่ส่งมาในรูปของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หนังสือพิมพ์ออนไลน์ต่าง ๆ

๓) แนวทางในการอ่านสื่ออิเล็กทรอนิกล์

                     ๑. พิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่นำเสนอ อาจจะพิจารณาได้จากข้อมูลมีการระบุชื่อของผู้ให้ข้อมูล หรือแหล่งที่มาของข้อมูล มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนนำออกเผยแพร่

                      ๒. พิจารณาความถูกต้องของข้อมูลที่นำเสนอ ข้อมูลที่ดีต้องมีความถูกต้องครบถ้วนมีการอ้างอิงข้อมูลมากกว่าหนึ่งแหล่ง ข้อมูลควรมีการระบุวันที่ไว้

                      ๓. พิจารณาจากความทันสมัย ว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงข้อมูลอยู่เสมอๆ โดยเฉพาะข้อมูลที่เป็นข้อมูลทางด้านการแพทย์ ธุรกิจ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

P-YOU-024-P3.jpg
twitter-home-page-560x228.jpg
214892.jpg
12.jpg
images.jpg
สนง.คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค-สคบ..jpg
Screenshot (322).png

อ้างอิง :

ภาสกร เกิดอ่อน และคณะ. (ม.ป.ป.). การอ่านสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์. ใน เอกรินทร์ สี่มหาศาล (บรรณาธิการ), หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย หลักภาษาและการใช้ภาษา ม.๔ (๑๙-๓๘). กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

© 2023 by Chery Jones. Proudly created with Wix.com

bottom of page